ถาม-ตอบ
สมาคมแฟคตอริ่ง

คำถามที่พบบ่อย

สมาคมแฟคตอริ่ง

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจสินเชื่อแฟคตอริ่ง หากเป็นบริษัทเงินทุน / ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้กำกับดูแล หากเป็นบริษัทฯหรือกิจการอื่นไม่ต้องดำเนินการขออนุญาตจากหน่วยงานใด เพียงแต่ต้องระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนในหนังสือรับรองของบริษัท ที่จดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจ เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้อง / การดำเนินธุรกรรมการให้สินเชื่อในรูปแบบของสินเชื่อแฟคตอริ่ง เป็นต้น

ด้วยสินเชื่อแฟคตอริ่ง เป็นเรื่องของการให้เงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น โดยมีการโอนสิทธิเรียกร้องการรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการจากลูกหนี้การค้า ให้กับ บริษัทแฟคตอริ่ง ดังนั้น หากกิจการมีความประสงค์จะทำธุรกิจสินเชื่อแฟคตอริ่ง ต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง ตามมาตรา 303 – 313 และการเรียกเก็บดอกเบี้ย ห้ามเกินในอัตรา 15.0% ต่อปี ตามที่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนด

สำหรับกิจการขนาดใหญ่ที่ประกอบธุรกิจแฟคตอริ่ง ล้วนเป็นสมาชิกของสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจแฟคตอริ่ง ประกอบด้วยธนาคาร (Bank) จำนวน 4 แห่ง และกิจการประเภท Non Bank จำนวน 7 แห่ง และธุรกิจเกี่ยวกับ Platform ,Software จำนวน 3 แห่ง ส่วนที่เหลือในตลาดการเงินนั้น อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ในกิจการนั้น หรือ Platform ทางการเงิน หรือ กิจการขนาดเล็กที่มีกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ

ปัญหาสำคัญคือความน่าเชื่อถือและแหล่งเงินทุนในการ Support ธุรกิจ SMEs รวมทั้งการสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาด ภาวการณ์แข่งขันในธุรกิจการเงินประเภทนี้  และผลประกอบการของธุรกิจ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะสร้างความยั่งยืนให้กับการประกอบธุรกิจสินเชื่อแฟคตอริ่ง

เป็นทางเลือกของผู้ประกอบการที่จะสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมฯ  สมาคมฯไม่ได้บังคับว่ากิจการจำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก เพียงแต่การที่มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นจะทำให้สมาคมฯมีความเข้มแข็งและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาสมาคมฯ จะทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนให้กับสมาชิกในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย , สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง , หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ,สภาอุตสาหกรรมจังหวัด , บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นต้น ในการแสดงความคิดเห็นในเชิงธุรกิจและการปฏิบัติการที่มีผลต่อการส่งเสริม SMEsไทย อาทิ โครงการ Digital Factoring  , พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ เป็นต้น

สมาคมฯ มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมประชาสัมพันธ์การประกอบวิสาหกิจธุรกิจการให้สินเชื่อแฟคตอริ่ง  ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายต่อภาคผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนประเภทนี้ได้ง่ายและสะดวกขึ้น ปัจจุบันภาครัฐฯ ได้ให้ความสำคัญต่อสินเชื่อแฟคตอริ่งเป็นอย่างมากด้วยเล็งเห็นว่าเป็นสินเชื่อที่สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนต่อผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างรวดเร็วหลังจากที่ได้ดำเนินธุรกรรมทางการค้าแล้ว

นอกจากนี้ในประเทศไทย สมาคมที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจสินเชื่อแฟคตอริ่ง มีเพียงสมาคมเดียว โอกาสที่หน่วยงานรัฐจะดำเนินโครงการต่างๆที่สนับสนุนธุรกิจสินเชื่อแฟคตอริ่ง โดยอ้างอิงต่อการเป็นสมาชิกของสมาคมฯเป็นไปได้สูง อีกทั้งในปัจจุบัน พรบ.ธุรกิจการให้สินเชื่อแฟคตอริ่ง ยังไม่มีการประกาศใช้ หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทางสมาคมและสมาชิกของสมาคมฯ

ปัจจุบันสมาคมฯ เป็นสมาชิกของหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาและกรรมการ คณะกรรมการสมาคมการค้า กลุ่มการเงิน การลงทุน และการประกันภัย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยในการนี้สมาคมฯ ได้พยายามติดต่อและประสานงานกับหอการค้าจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อหาโอกาสในการเข้าไปพบและประชาสัมพันธ์รายละเอียดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อแฟคตอริ่งและสินเชื่อประเภทอื่นๆของสมาชิกสมาคมฯ เพื่อให้หอการค้าจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเป็นช่องทางทางการตลาดไปยังกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในเครือข่ายหอการค้าจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนั้นๆ  นอกจากนี้ยังประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อมวลชนภาคธุรกิจต่างๆตามโอกาสที่ได้รับ

สมาคมฯ แบ่งสมาชิกออกเป็น 3 ระดับ คือ สมาชิกประเภท สามัญ , วิสามัญ และกิตติมศักดิ์                     

สมาชิกสามัญ เป็นนิติบุคคลที่ประกอบวิสาหกิจด้านธุรกิจสินเชื่อแฟคตอริ่ง เกินกว่าร้อยละ 25 ของสินเชื่อทั้งหมด สมาชิกสามัญมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการ เข้ามาร่วมกันบริหารงานของสมาคม

สมาชิกวิสามัญ เป็นนิติบุคคลที่ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า การเงิน และอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวพันกับธุรกิจสินเชื่อแฟคตอริ่ง  สมาชิกวิสามัญจะไม่มีสิทธิเป็นคณะกรรมการของสมาคม

สมาชิกกิตติมศักดิ์ เป็นบุคคลซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ หรือมีอุปการะคุณแก่สมาคม